ประวัติเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ


ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารตัวเต็ม(หากต้องการเนื้อหากรุณาเลื่อนลงไปดูด้านล่าง)

___________________________________________________________

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ผมบอกตามตรงว่า ก๊อปมาจาเวปอื่นครับ
แต่ผมแก้ไขคำพูดเล็กน้อย และนำมาประกอบกันหลายๆเว็ป
ทำให้ข้อมูลที่ได้ครอบคลุมและละเอียดมากขึ้น
___________________________________________________________
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
Q1:ไฟล์ตัวเต็มมีอะไรบ้าง?
A1:ตามสารบัญเลยครับ

Q2:ไฟล์ตัวเต็มมีข้อดีอย่างไร?
A2: มีการจัดรูปแบบ น่าอ่าน ต่างจากบนบล็อก

Q3:อ่านเนื้อหาอันนี้บนบล็อกผมดียังไง
A3:ผมจัดเรียงและรวบรวมข้อมูลแล้วจึงค่อนข้างอ่านง่ายและครอบคลุม

สารบัญ

บทที่                           ชื่อเรื่อง                                  หน้า

1          ประวัติเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ               1-2
2          ประวัติกีฬาตระกร้อในประเทศไทย         3-5     
3          กีฬาตระกร้อข้ามตาข่าย                    6-7
4          กติกาการเล่นตระกร้อ                                  8-16
5          มารยาทของผู้เล่นกีฬาตระกร้อ                17-18
เอกสารอ้างอิง                                              19
ภาคผนวก                                                      20

___________________________________________________________
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
เนื้อหา
ประวัติกีฬาตระกร้อ
บทที่ 1
ประวัติเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ

ตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมีชื่อเสียง  แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงนั้นก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมนั้นใช้หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ในปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก เพราะวัสดุในการผลิตหาง่ายกว่าและมีน้ำหนักขนาดของเส้นและอื่นๆค่อนข้างเป็นมาตรฐานเท่ากันทุกลูก

การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความมีไหวพริบ การสังเกต ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม อีกทั้งยังฝึกความมีระเบียบวินัย มารยาทอีกด้วยและการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง

สำหรับประวัติของกีฬาตะกร้อนั้น ได้มีการดำเนินการการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตมากมาย แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนและยังคงเป็นข้อถกเถียงว่ากีฬาตะกร้อนั้น กำเนิดจากที่ใดกันแน่ แต่จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้...

-ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"

-ประเทศมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga)
คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

-ในประทศฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak


-ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่

-ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
        
ส่วนประเทศไทยนั้นก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

สาระน่ารู้

ความหมาย คำว่า ตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า
ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ

 








บทที่ 2                                                                                                               ประวัติกีฬาตระกร้อในประเทศไทย
ประวัติ ในประเทศไทย

            ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้

ด้วยภูมิศาสตร์ของไทยเองนั้นก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก ) 

วิวัฒนาการการเล่น

    การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร


ส่วนการเล่นตะกร้อนั้นก็มีหลายประเภท เช่น
ตะกร้อข้ามตาข่าย
ตะกร้อลอดบ่วง
ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น

เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตามมา

ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้

พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
ตะกร้อวง
ตะกร้อข้ามตาข่าย
 ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งยังมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย

พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และบทบาทของตระกร้อในประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้นตามด้วย จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า เซปักตะกร้อ และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงในปัจจุบัน




















บทที่ 3
กีฬาตระกร้อข้ามตาข่าย

การเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายแบบไทย

เนื่องจากมีนักตะกร้อและนักแบดมินตันบางท่าน ซึ่งมี หลวงสำเร็จวรรณกิจ,ขุนจรรยาวิฑิต,นายผล ผลาสินธุ์ และนายยิ้ม ศรีหงส์ เป็นคณะผู้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยพยายามประยุกต์ระหว่างการเล่นตะกร้อกับแบดมินตันเข้าด้วยกันและจึงเรียกกีฬาใหม่นี้ว่า “ตะกร้อข้ามตาข่าย” โดยมีการนับคะแนนแบบแบดมินตัน จนถึง พ.ศ. 2475 สมาคมกีฬาสยามซึ่งเป็นชื่อสมาคมในสมัยนั้น บัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย ได้ขอให้หลวงคุณวิชาสนอง ร่างกติกาตะกร้อข้ามตาข่ายขึ้น และ พ.ศ. 2476 จึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรกในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี พ.ศ. 2476 ปรากฏว่าต่อมามีผู้นิยมเล่นกันมากขึ้นกว่าเดิมอีกและแพร่หลายกันมากขึ้นตามลำดับ จนถึง พ.ศ. 2579  กรมพลศึกษาจึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก

เซปักตะกร้อหรือตะกร้อข้ามตาข่ายแบบสากล

เซปักตะกร้อหรือตะกร้อข้ามตาข่ายแบบสากล เป็นกีฬาที่ได้พัฒนามาจนเป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก  ประเทศมาเลเซียเป็นผู้คิดค้นกติกาการเล่น ซึ่งลักษณะการเล่นเซปักตะกร้อคล้ายกับการเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายของไทย แต่ต่างกันตรงที่รูปแบบ สนาม การเล่นลูก การนับคะแนนและกติกาการเล่น
ในปี พ.ศ. 2508 ในช่วงฤดูการแข่งขันกีฬาไทย ซึ่งมีการแข่งขันว่าว กระบี่กระบอง และตะกร้อ โดยสมาคมกีฬาไทย ณ ท้องสนามหลวง ราวเดือนมีนาคมและเมษายน ในปีนี้สนามคมตะกร้อจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย ได้เชื่อมความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ได้มีการแข่งขันตะกร้อของทั้งสองประเทศ นักกีฬาทีมชาติไทยมีความถนัดในการเล่นตะกร้อแบบกติกาไทย ส่วนนักกีฬาทีมชาติมาเลเซีย มีความถนัดในการเล่นตะกร้อแบบกติกามาเลเซีย คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จึงได้กำหนดกติกาในการแข่งขันทั้งสองแบบ ผลการแข่งขันตะกร้อแบบกติกาไทย ปรากฏว่านักกีฬาทีมชาติไทยชนะนักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสองเซตรวด ส่วนการแข่งขันแบบกติกามาเลเซีย ปรากฏว่านักกีฬาทีมชาติไทยแพ้นักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสิงเซตรวดเช่นเดียวกัน โดยภายหลังจากการแข่งขันตะกร้อครั้งนั้นแล้ว คณะผู้ประสานงานกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการเผยแพร่กีฬาชนิดนี้ให้กว้างขวางเป็นที่นิยมต่อนาอารยประเทศ จึงได้ตกลงร่วมกันกำหนดชื่อกีฬานี้ขึ้นใหม่ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ใช้ชื่อไม่เหมือนกัน ประเทศไทยใช้ชื่อว่า กีฬาตะกร้อ ส่วนมาเลเซียใช้ชื่อว่า ซีปัก รากา ซึ่งคำว่า รากา นั้น แปลว่าตะกร้อนั้นเอง คณะกรรมการประสานงานหรือสมาคมกีฬาของทั้งสองประเทศ จึงได้นำคำว่า SEPAK ของมาเลเซีย มารวมกับคำว่าตะกร้อของประเทศไทยแล้วจึง รวมเป็นคำว่า SEPAK–TAKRAW หรือเซปักตะกร้อ มาตราบเท่าทุกวันนี้ และกีฬาเซปักตะกร้อได้บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เมื่อ พ.ศ. 2533 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน



บทที่ 4
กติกาการเล่นตระกร้อ
   เกมกีฬาทุกชนิดล้วนต้องมีกติกา และสำหรับกีฬาตระกร้อก็เช่นเดียวกัน
กติกาการเล่นกีฬาตระกร้อ มีดังนี้
ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง  4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 68 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า แถบแสดงเขตสนาม
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 911 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 4345 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า หน้าขวา” ( night inside )
ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1  สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 115 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )
ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
ข้อที่ 10. ตำแหน่งผู้เล่นระหว่างการส่งลูก( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2   ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3   ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
 ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4 การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3  เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า ดิวส์คู่”  ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า ไทเบรคโดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า ดิวส์คู่ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
 ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่น(นักกีฬา)ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )

ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่  2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3    ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุดเสมอ


บทที่ 5
มารยาทผู้เล่นของกีฬาตระกร้อ
การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติและปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท รวมถึงกีฬาตระกร้อก็เช่นกัน จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้
1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2.
การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3.
ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4.
ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5.
ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6.
ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7.
ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8.
หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9.
ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10.
ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11.
ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12.
มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13.
หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14.
เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา

คุณสมบัติของนักกีฬาตระกร้อที่ดี
      
          การเล่นกีฬาทุกชนิด เมื่อผู้เล่นได้ศึกษาเล่าเรียน ฝึกฝนทักษะต่างๆ จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์ทุกอย่าง บางคนเล่นได้เก่งจนเป็นนักกีฬาตะกร้อได้ แต่จะให้เก่งดีเด่นไปทุกคนก็หาไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยที่เอาจริงเอาจังหรือไม่ บางคนเล่นมาตั้งแต่เด็กจนแก่ก็เอาดีไม่ได้ บางคนลงเล่นไม่กี่ปีก็เป็นดาวเด่นขึ้นมา ที่เรียกกันว่ามีพรสวรรค์รวมทั้งมีพรแสวง คือได้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ฉะนั้นคุณสมบัติของนักกีฬาโดยทั่วไป ควรมีดังนี้
     1.      เป็นคนตรงต่อเวลา
2.    ไม่เป็นคนที่อวดดื้อถือดี
3.    ไม่เป็นคนที่สังคมรังเกียจ
4.    ไม่เป็นคนที่ติดสุราหรือยาเสพติด
5.    เชื่อฟังการบังคับบัญชาของผู้ฝึกสอน
6.     เป็นคนที่เคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่น
7.    เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรและเอาใจใส่
8.    เป็นคนที่มีความประพฤติแบะมารยาทเรียบร้อย
9.     เป็นคนที่มีขีดความสามารถในกีฬานั้น ๆ สูงพอ
10. เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบคนอื่นๆ
11.  เป็นคนที่ไม่ก่อกวนและก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหมู่คณะ

      หากผู้เล่นมีคุณสมบัติของนักกีฬาตระกร้อที่ดีและมีมารยาทในการเล่นดังที่กล่าวไว้ข้าวต้นแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นนักกีฬาที่มีความยอดเยี่ยมและจะสามารถประสบความสำเร็จตามความตั้งใจได้โดยง่ายตามที่ตั้งใจไว้
เอกสารอ้างอิง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1.https://kruchok.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD/
2.http://youau2013.blogspot.com/p/blog-page_27.html
3. http://takrawthai.blogspot.com/p/blog-page_9974.html
4.https://temfar.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD/
5. https://sites.google.com/site/tipsudapontong/maryath-ni-kar-len-thi-di
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
1.http://www.shoppingwebthailand.com/platinum/shop/balltologo/images/products/BIG_BTL1001ZBK.jpg
2.https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/e/ee/Pitlokpit.JPG/150px-Pitlokpit.JPG
3.http://www.siamsport.co.th/_ImagesNews/121012H9S59080.jpg
4. http://fwantanee5657.files.wordpress.com/2014/02/30b-cdnopen2012.jpg
5. http://www.matichon.co.th/online/2014/10/14123001541412301715l.jpg
6.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD
7. http://www.thainews70.com/wp-content/uploads/2012/03/100_%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C7.jpg.jpeg

ภาคผนวก

                                                                            รูป 1ขนาดสนามของกีฬาตระกร้อ                                            

รูป 2ตัวอย่างการแข่งขันกีฬาตระกร้อ

เรียบเรียงคำพูดใหม่ โดยเด็กชายธนพัฒน์  เฉิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10อันดับเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่นับพื้นผิวทวีป)

คำคมขงเบ้ง

ประโยชน์จากส้ม