หากคิดว่าเราจะทำได้ดีขี้น เราก็จะทำได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

          
           หลายคราที่เราได้ยินคำกล่าวที่ว่า "คิดอะไรก็ได้อย่างนั้น"  ซึ่งค่อนข้างเป็นจริง เมื่อมีงานวิจัยออกมาว่า การบอกกับตัวเองว่า เราจะทำได้ดีขึ้น นั้นมีผลทางจิตวิทยา ทำให้สามารถทำให้ดีขึ้นได้จริง ๆ
          ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้อาสาสมัครเข้าร่วมทั้งหมด 44,742 คน  (อายุ 16–91 years; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 13.84; ชาย = 27,945 , ญ = 16,797) เพื่อหาว่าวิธีการสร้างแรงกระตุ้นตัวเองวิธีใดที่ได้ผล โดยโจทย์ที่นำมาทดสอบในการศึกษาครั้งนี้คือการเพิ่มคะแนนในการเล่นเกมออนไลน์
          นักวิจัยศึกษาว่า วิธีการกระตุ้นวิธีใดที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่ากัน โดยวิธีที่นำมาทดสอบในครั้งนี้ได้แก่ การพูดกับตัวเอง การจินตนาการ และการวางแผน"ถ้า-แล้ว" โดยใช้วิธีการเหล่านี้ในขั้นตอนของการแข่งขัน ซึ่งขั้นตอนของการแข่งขันได้แก่ การประมวลผล ผลลัพธ์ ควบคุม และ คำสั่ง

          ผลการศึกษาชี้ว่า กลุ่มที่พูดกับตัวเอง เช่นพูดว่า "เราจะทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป" จะทำได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม

เราควร Think plus (คิดบวก) เสมอๆ
          โดยกลุ่มที่ทำคะแนนได้ดีได้แก่ กลุ่มที่พูดกับตัวเองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี (บอกตัวเองว่า "เราจะทำคะแนนให้ได้มากกว่าครั้งก่อนๆ") กลุ่มที่พูดกับตัวเองเพื่อให้ได้กระบวนการที่ดี (บอกตัวเองว่า "เราจะทำได้เร็วกว่าครั้งก่อนๆ") กลุ่มที่จินตนาการว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี (จินตนาการว่าได้เล่นเกมและทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนๆ) และจินตนาการว่าจะได้กระบวนการที่ดี (จินตนาการว่าได้เล่นและทำได้เร็วกว่าครั้งก่อนๆ)

          นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พบว่า การดูวิดีโอสร้างแรงบันดาลใจสามารถช่วยทำให้ผลงานออกมาดีได้ด้วย โดยผู้เข้าร่วมการทดลองที่ได้ดูวิดีโอก่อนเกมออนไลน์สามารถทำภารกิจได้ดีขึ้น ซึ่งวิดีโอในการศึกษาครั้งนี้คือวิดีโอของไมเคิล จอร์แดน นักวิ่งเหรียญทองโอลิมปิก 4 สมัย ที่พูดถึงการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจนอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมทางร่างกาย

          ส่วนกลุ่มที่สร้างแรงบันดาลใจด้วยการวางแผน "ถ้า-แล้ว" เป็นกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุด แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ได้ผลในชีวิตประจำวันหลายๆงาน

          งานวิจัยนี้เป็นของศาสตราจารย์แอนดรูว์ เลน ในสหราชอาณาจักร ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Frontiers in Psychology โดยจุดเด่นคือการรวบรวมอาสาสมัครได้กว่า 40,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม ในขณะที่งานวิจัยทางจิตวิทยาในลักษณะนี้มักจะมีผู้เข้าร่วมการทดลองประมาณ 300 คนและแบ่งออกเป็น 2-3 กลุ่มเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง
http://journal.frontiersin.org/article/10.3389/fpsyg.2016.00413/full <<อ่านงานวิจัยฉบับเต็มที่นี่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10อันดับเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่นับพื้นผิวทวีป)

คำคมขงเบ้ง

ประโยชน์จากส้ม